เจ็บคอ..........จะแย่แล้ว (ตอนที่ 2)

เจ็บคอ..........จะแย่แล้ว (ตอนที่ 2)

 

รศ. นพ. ปารยะ   อาศนะเสน

สาขาวิชาโรคจมูกและโรคภูมิแพ้ 

ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา 
Faculty of Medicine Siriraj Hospital

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและเหมาะสม  เช่น 
          -
ควรรับประทานอาหารอ่อนๆเช่น โจ๊กหรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป  ควรรับประทานอาหารที่เย็น เช่นไอศกรีม หรือดื่มเครื่องดื่มที่เย็น   
          -
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด หรือรสจัด, อาหารที่ปรุงด้วยการผัด และการทอด
          -
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
          -
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์, ชา, กาแฟ
          -
หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว  
          -
ควรพยายามทำความสะอาดคอบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ด้วยการแปรงฟัน หรือกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก
, น้ำเกลืออุ่นๆ (โดยผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 1 แก้ว)  หรือน้ำเปล่าทุก 1-2 ชั่วโมงหลังอาหารทุกมื้อ  เนื่องจากการที่ไม่รักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี อาจมีเศษอาหารตกค้างในช่องปากและลำคอ  ทำให้เจ็บคอมากขึ้นได้  นอกจากนั้น การกลั้วคอดังกล่าวจะช่วยให้คอชุ่มชื้น และลดอาการเจ็บ และระคายคอด้วย
          -
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ
6 แก้ว เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุลำคอที่อักเสบอยู่
          -
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือมีคนรอบข้างที่ไม่สบาย
          -
อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หลีกเลี่ยงของฉุน ฝุ่น ควัน สิ่งระคายเคือง เพื่อลดอาการระคายคอ และระวังการแพร่กระจายเชื้อติดต่อไปยังบุคคลข้างเคียง ด้วยการใช้กระดาษชำระปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอหรือจาม แล้วทิ้ง  หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ, ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังไอ, จาม
          -
หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศที่เย็นมากๆ เช่น ขณะนอนเปิดแอร์หรือพัดลมเป่าจ่อ  ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเย็น  ตากฝน
 

 

เมื่อไรจึงควรมาพบแพทย์

      ควรนำผู้ป่วยเด็กที่มีอาการเจ็บคอมาพบแพทย์ เมื่อเด็กมีอาการดังต่อไปนี้
           
- มีน้ำลายไหลตลอดเวลา ซึ่งบ่งบอกว่าผู้ป่วยกลืนไม่ได้  ไม่ยอมรับประทานอาหาร
            - หายใจลำบาก
            - กลืนลำบาก

     ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอาการเจ็บคอ ควรมาพบแพทย์ เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
            - อาการเจ็บคอรุนแรง หรือเป็นเรื้อรังเกิน
1 สัปดาห์ แล้วยังไม่หาย
            - หายใจลำบาก  ไอ หอบเหนื่อย
            - กลืนลำบาก มีน้ำลายไหล
            - ไม่สามารถอ้าปากได้
            - มีอาการปวดหู  หูอื้อ หรือปวดตามข้อร่วมด้วย
            - มีไข้สูงมากกว่า
38.3
°C
            - มีผื่น
            - มีน้ำลาย หรือเสมหะปนเลือด
            - อาการเจ็บคอเป็นบ่อย เป็นๆหายๆ
            - คลำก้อนได้ที่คอ
            - มีเสียงแหบ หรือต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยนานเกิน
2 สัปดาห์
            - เจ็บคอมากจนรับประทานอาหาร และดื่มน้ำได้น้อย
            - ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติโรคไข้รูมาติค หรือโรคลิ้นหัวใจ
            - ผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นเป็นโรคเอดส์, เบาหวาน, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, โรคไขกระดูกฝ่อ, ไม่มีม้าม หรือได้รับการตัดม้าม, กำลังได้ยาเคมีบำบัด หรือ ยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ ที่ได้ยา
carbimazole)

 


เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด