ขิงกับ COVID-19

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

       ขิง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Zingiber officinale Roscoe เป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยจะใช้ส่วนเหง้าของขิงรับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับผายลม เจริญอากาศธาตุ (1, 2) ขิงเป็นสมุนไพรที่มีรสร้อน และมีกลิ่นฉุนเฉพาะของขิง เนื่องจากมีสารสำคัญหลัก คือ 6-gingerol, shogaols, diarylheptanoids, zingiberene และมีสารที่เป็นกลุ่มน้ำมันหอมระเหย (3)

       ขิง เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ หรือเป็นส่วนประกอบของตำรับยาสมุนไพรในประเทศไทย และหลายประเทศทั่วโลก เช่น จีน (4)  อินเดีย มาเลเซีย (5) โดยส่วนใหญ่ใช้รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกพบว่า ขิงมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการอาเจียนหลังผ่าตัดและขณะตั้งครรภ์ได้ (6)

       จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้หลายประเทศมีการศึกษาข้อมูลสมุนไพรที่น่าจะมีประสิทธิผลในการต้านไวรัสและรักษาโรคโควิด 19 เพิ่มมากขึ้น ขิงจึงถูกนำมาศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาในระดับหลอดทดลอง พบว่าสารสำคัญในเหง้าขิงมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปากอักเสบพุพอง (7) ขิงช่วยลดความรุนแรงจากการอักเสบของปอดและการขาดออกซิเจน (8) นอกจากนี้ขิงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (9) ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (10-12)

       การศึกษาเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ของขิงในระดับหลอดทดลอง พบว่าสารสำคัญในขิงมีแนวโน้มสามารถต้านเชื้อไวรัสได้ (13) โดยจำเพาะกับเชื้อ SARS CoV-2 และอาจจะพัฒนาเป็นยาในการต้านไวรัสโควิด 19 ได้ในอนาคต (14) มีการศึกษาวิจัยในคน ของประเทศอิหร่าน พบว่าผู้ป่วยโรคโควิด 19 มีระดับอาการไอ หอบเหนื่อยและปวดกล้ามเนื้อลดลงเมื่อรับประทานยาขิงร่วมกับยาสมุนไพรชนิดอื่น แต่ผลต่ออาการอื่น ๆ และระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลยังไม่แน่ชัด และอาจจะไม่ใช่ผลของขิงเพียงอย่างเดียว จึงต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป (15)

       ดังนั้นกล่าวโดยสรุป ขิงถูกมองว่าเป็นสมุนไพรที่มีแนวโน้มในการรักษาโรคโควิด 19 เนื่องจากการศึกษาวิจัยในระดับหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส ลดการอับเสบในปอดและกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคโควิด 19 แต่อย่างไรก็ตาม หากจะนำขิงมาใช้รักษาหรือต้านเชื้อไวรัสโรคโควิด 19 ยังไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากยังมีหลักฐานงานวิจัยสนับสนุนถึงประสิทธิผลไม่เพียงพอ แนะนำให้ใช้ขิงตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย คือ รับประทานน้ำขิงหรือขิงสด เพื่อบรรเทาอาการท้องอืด แน่นจุกเสียด และบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ส่วนการรับประทานยาขิงหรือสารสกัดขิงควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์

 

แหล่งอ้างอิง

1. พรทิพย์ เติมวิเศษ และคณะ, บรรณาธิการ. ประมวลสรรพคุณสมุนไพรไทย เล่มที่1 พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

2.  มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมโรงเรียนอายุรเวทธำรงสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์. ตำราการแพทย์ไทยเดิมแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ ๑) ฉบับชำระ พ.ศ.๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2550.

3. Johnson O. Oladele, Ebenezer I. Ajayi, Oyedotun M. Oyeleke, Oluwaseun T. Oladele, Boyede D. Olowookere, Boluwaji M. Adeniyi, Olu I. Oyewole, Adenike T. Oladiji. A systematic review on COVID-19 pandemic with special emphasis on curative potentials of Nigeria based medicinal plants, Heliyon; 6(9), 2020.

4.Xu, Jia & Zhang, Yunfei. (2020). Traditional Chinese Medicine treatment of COVID-19. Complementary Therapies in Clinical Practice. 39. 101165. 10.1016/j.ctcp.2020.101165.

5. Rathinavel, Thirumalaisamy & Palanisamy, Murugan & Srinivasan, Palanisamy & Subramanian, Arjunan & Thangaswamy, Selvankumar. (2020). Phytochemical 6-Gingerol -A promising Drug of choice for COVID-19. International Journal of Advanced Science and Engineering. 06. 10.29294/IJASE.6.4.2020.1482-1489.

6. Berg L.R. Saunders College Publication; Ft. Worth: 1997. Introductory Botany: Plants, People and the Environment; p. 466.

7. Talactac MR, Chowdhury MYE, Park M-E, Weeratunga P, Kim T-H, Cho W-K, Kim C-J, Ma JY, Lee J-S. 2015. Antiviral effects of novel herbal medicine KIOM-C, on diverse viruses. PloS One 10:e0125357-e0125357.

8. Çifci, Atilla & Tayman, Cüneyt & Yakut, ?brahim & Halil, Halit & Çak?r, Esra & Cak?r, Ufuk & Aydemir, Salih. (2018). Ginger (Zingiber officinale) prevents severe damage to the lungs due to hyperoxia and inflammation. Turkish journal of medical sciences. 48. 892-900. 10.3906/sag-1803-223.

9. Mahluji, Sepide & Ostadrahimi, Alireza & Mobasseri, Majid & Attari, Vahide & Payahoo, Laleh. (2013). Anti-Inflammatory Effects of Zingiber Officinale in Type 2 Diabetic Patients. Advanced pharmaceutical bulletin. 3. 273-276. 10.5681/apb.2013.044.

10. Srivastava KC, Mustafa T. Ginger (Zingiber officinale) in rheumatism and musculoskeletal disorders. Med Hypotheses. 1992 Dec;39(4):342-8. doi: 10.1016/0306-9877(92)90059-l. PMID: 1494322.

11. Shimoda H, Shan SJ, Tanaka J, Seki A, Seo JW, Kasajima N, Tamura S, Ke Y, Murakami N. Anti-inflammatory properties of red ginger (Zingiber officinale var. Rubra) extract and suppression of nitric oxide production by its constituents. J Med Food. 2010 Feb;13(1):156-62. doi: 10.1089/jmf.2009.1084. PMID: 20136450.

12. Al-Nahain A, Jahan R, Rahmatullah M. Zingiber officinale: A Potential Plant against Rheumatoid Arthritis. Arthritis. 2014;2014:159089. doi:10.1155/2014/159089

13. Ahkam, Ahmad & Eko Hermanto, Feri & Alamsyah, Adzral & Aliyyah, Iva & Fatchiyah, Fatchiyah. (2020). Virtual prediction of antiviral potential of ginger (Zingiber officinale) bioactive compounds against spike and MPro of SARS-CoV2 protein. Berkala Penelitian Hayati. 25. 52-57. 10.23869/bphjbr.25.2.20207.

14. Rathinavel, Thirumalaisamy & Palanisamy, Murugan & Srinivasan, Palanisamy & Subramanian, Arjunan & Thangaswamy, Selvankumar. (2020). Phytochemical 6-Gingerol -A promising Drug of choice for COVID-19. International Journal of Advanced Science and Engineering. 06. 10.29294/IJASE.6.4.2020.1482-1489.

15. Mesri M, Esmaeili Saber SS, Godazi M, Roustaei Shirdel A, Montazer R, Koohestani HR, Baghcheghi N, Karimy M, Azizi N. The effects of combination of Zingiber officinale and Echinacea on alleviation of clinical symptoms and hospitalization rate of suspected COVID-19 outpatients: a randomized controlled trial. J Complement Integr Med. 2021 Mar 31. doi: 10.1515/jcim-2020-0283. Epub ahead of print. PMID: 33787192.

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด