การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

รศ.พญ.กุลภา ศรีสวัสดิ์
ผศ.พญ.นวพร ชัชวาลพาณิชย์
พว.อัจฉรา สุวรรณนาคินทร์
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 ข้อควรปฏิบัติ
         1. พยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
         2. ทำความสะอาดเท้าทุกวันและเช็ดเท้าให้แห้งทันที
         3. สำรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน โดยเฉพาะซอกระหว่างนิ้วเท้า
         4. หากมีปัญหาเรื่องสายตาควรให้ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดตรวจเท้าและรองเท้าทุกวัน
         5. หากผิวแห้งควรใช้ครีมทาบาง ๆ แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกระหว่างนิ้วเท้า
         6. หากต้องใช้น้ำอุ่นควรใช้มือหรือข้อศอกตรวจระดับความร้อนของน้ำก่อนทุกครั้ง
         7. หากมีอาการเท้าเย้นในเวลากลางคืนควรแก้ไจโดยการใส่ถุงเท้า ห้ามใช้กระเป๋าน้ำร้อนเป็นอันขาด
         8. ควรเลือกใส่รองเท้าที่พอดี ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมกับรูปเท้า
         9. สวมถุงเท้าก่อนใส่รองเท้าเสมอ หากถุงเท้ามีตะเข็บควรกลับด้านในออก และควรเปลี่ยนถุงเท้าทุกวัน
        10. ตรวจดูรองเท้าทั้งภายในและภายนอกก่อนใส่ทุกครั้ง
        11. ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ แม้ไม่มีปัญหาใด ๆ
        12. หากเท้ามีปัญหาแม้เพียงเล็กน้อย ควรไปพบแพทย์ทันที

ข้อห้ามปฏิบัติ
          1. ห้ามสูบบุหรี่
          2. ห้ามแช่เท้าในน้ำนาน ๆ
          3. ห้ามตัดเล็บลึกถึงจมูกเล็บควรตักตามแนวขอบเล็บเท่านั้น
          4. ห้ามตัดตาปลาหรือหนังด้ายด้วยตนเอง
          5. ห้ามใช้สารเคมีใด ๆ ลอกตาปลาด้วยตนเอง
          6. ห้ามเดินเท้าเปล่าบนพื้นผิวที่ร้อน เช่น บนหาดทราย หรือพื้นซีเมนต์         
          7. พยายามหลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า
          8. ห้ามใส่รองเท้าแตะประเภทมีที่คีบระหว่างนิ้วเท้า

เลือกรองเท้าอย่างไร? ไม่ให้เป็นแผล
          1. ต้องไปลองรองเท้าด้วยตนเองเสมอ เพราะขนาดรองเท้านั้นไม่มีมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ รูปทรง และแบบ
          2. เลือกรูปทรงรองเท้าที่ใกล้เคียงกับรูปทรงของเท้ามากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดการบับรัดเป็นแผล
          3. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้าควรนำอุปกรณ์นั้น ไปลองกับรองเท้าด้วย
          4. ก่อนตัดสินใจซื้อ ควรลองรองเท้าหลาย ๆ รูปทรง และแบบแล้วเลือกรูปทรงและแบบที่สบายที่สุด
          5. ในการลองรองเท้า ต้องลองเดินเสมอ เพราะขณะยืนหรือเดินเท้าอาจขยายขนาดขึ้น
          6. ควรเลือกซื้อรองเท้าให้ตรงกับประเภทของกิจกรรมที่จะทำหากเป็นไปได้ ควรลองรองเท้าในเวลาใกล้เคียงกับเวลาที่จะนำไปใช้
          7. ต้องลองรองเท้าทั้งสองข้างเสมอ เนื่องจากเท้าแต่ละข้างมักมีขนาดไม่เท่ากัน โดยควรเลือกความพอดีตามขนาดเท้าข้างที่ใหญ่กว่า
          8. ความกว้างของรองเท้าที่เหมาะสม คือ ตำแหน่งของเท้าส่วนที่กว้างที่สุดอยู่ตรงกับตำแหน่งของรองเท้าส่วนที่กว้างที่สุด โดยควรให้มีพื้นที่พอขยับนิ้วเท้าได้เล็กน้อย
          9. ความยาวของรองเท้าที่เหมาะสม คือ มีระยะระหว่างนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดกับปลายของรองเท้าประมาณ 3/8 ถึง ½ นิ้ว

          ด้วยความปรารถนาดีจาก คลินิกสุขภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู และศูนย์เบาหวานศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด