คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง ตอนที่ 2

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง ตอนที่ 2

รศ.นพ.พิทยภูมิ ภัทรนุธาพร
ภาควิชารังสีวิทยา

Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ตอบ. นอกจากการเลือกรับประทานอาหารแล้ว การออกกำลังกาย, การทำสมาธิ, การทำจิตใจ เป็นสิ่งที่ดี และเป็นสิ่งที่สมควรจะทำ เพราะเชื่อว่าการทำสมาธิ, การทำจิตใจสงบจะทำให้สภาพภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น, การออกกำลังกายจะทำให้ผู้ป่วยแข็งแรง
อย่างไรก็ตามการปฏิบัติตัวนั้นต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรอยโรคและวิธีการรักษาอยู่ในขณะนั้น เช่น ผู้ป่วยมีมะเร็งที่กระจายไปที่กระดูก การออกกำลังกายก็ไม่ควรที่จะกระทำให้มันผิดปกติ หรือรุนแรงเกินไป ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณใดบริเวณหนึ่งระหว่างการฉายรังสี ก็ควรที่จะระมัดระวังในบริเวณนั้น ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดก็ควรออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำหลังจากการรักษาครบ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่นมะเร็งเต้านมจะลดการยึดตรึงของข้อไหล่ และการบวมของแขน  ดังนั้น การออกกำลังกาย, การทำจิตใจ, การทำสมาธิ จึงมีความสำคัญต่อวิธีการรักษาและผลการรักษาครับ

ตอบ. คนใกล้ชิดและญาติ มีส่วนดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก อันดับแรกก็คือ เรื่องของจิตใจ ผู้ป่วยที่มีญาติคอยดูแลและให้กำลังใจ มักจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า ผู้ป่วยที่ต้องต่อสู้โรคมะเร็งด้วยตนเอง หลายต่อหลายครั้งที่ เราพบว่าผู้ป่วยท้อแท้หมดกำลังใจที่จะรักษา แต่ส่วนใหญ่ก็จะมารับการรักษาต่อเนื่อง ด้วยกำลังใจของญาติผู้ป่วย ความรู้สึกของการมีส่วนร่วมกันในการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยมีที่พึ่ง ที่ระบาย ที่บอกกล่าวเกี่ยวกับโรคของตัวเอง ทำให้ลดความตึงเครียดทางจิตใจ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยที่มีปัญหาทุพพลภาพจากการรักษา เช่น อาจจะมีแขนขาอ่อนแรง แต่หากได้รับการทำกายภาพบำบัดที่ดี โอกาสที่จะฟื้นคืนก็เร็ว ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการขยับเขยื้อนตัว อาจจะเกิดปัญหาแผลกดทับ, อาจจะทำให้เกิดปอดอักเสบ แต่หากมีญาติคอยดูแล คอยพลิกตัวเป็นระยะ ก็จะลดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ และอย่างไรก็ตามการดูแลที่เกินกว่าปกติ บางครั้งก็จะนำมาสู่ผลเสียที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจคิดว่านี่เป็นวาระสุดท้ายของตัวเอง ผู้คนถึงได้ดีเป็นพิเศษ ก็อาจจะเกิดความท้อแท้ภายในใจก็ได้ สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ ความสม่ำเสมอเพราะในบางครั้งเราดูแลในทางที่ดีมาก เมื่อเกิดความบกพร่องขึ้นมาก็จะทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเสียใจ หรือมีความรู้สึกเป็นตัวที่ทำให้คนอื่นลำบาก สิ่งเหล่านี้ก็จะบั่นทอนต่อกำลังใจในการต่อสู้ เรื่องโภชนาการ การเตรียมอาหารที่เหมาะสมทำให้ร่างกายแข็งแรงมากกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้คนใกล้ชิดและญาติก็มีส่วนร่วมในการบอกความจริงแก่แพทย์ เพื่อการวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง เช่น อาการปวด, เศรษฐานะ, ความสามารถในการรักษา, ความวิตกกังวลของผู้ป่วย ล้วนแล้วแต่จะมีผลต่อการรักษาในผู้ป่วยทั้งสิ้น
โดยสรุป ผู้ป่วยทุกคนควรจะมีคนใกล้ชิดและญาติในการดูแลการรักษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ตอบ. การทำดีท็อกซ์ ดีท็อกซ์ในความเข้าใจที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ การสวนลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นยาหรือใช้กาแฟสวนลำไส้ บางครั้งก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วย ทั้งๆที่ในบางโรคไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย แต่บางโรคกลับทำให้อาการมากขึ้น เช่น มะเร็งของลำไส้ใหญ่ อาจจะมีการอุดตันอาจจะมีอาการเลือดออกมากขึ้น บางครั้งอาจจะมีแน่นอึดอัดในท้อง โดยทั่วไปเราไม่ควรจะกระทำ และในปัจจุบันก็ไม่มีรายงานที่แสดงถึงแนวทางการรักษาดังกล่าว ครับ

ตอบ. ข้อแนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ก็คือ
1. เข้าใจในสภาวะโรคที่ตัวเองเป็นอยู่
2. เข้าใจวิธีการ การรักษาที่แพทย์แนะนำ
3. เข้าใจถึงผลที่อาจจะเกิดขึ้น ในระยะสั้น, ระยะยาว
4. เข้าใจในสภาวะธรรมชาติของโรค และธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อมีความพร้อมทางด้านจิตใจ ความพร้อมทางด้านร่างกายก็จะเกิดขึ้น และเมื่อมีความพร้อมของการรักษาโดยแพทย์ ประกอบกับความพร้อมของผู้ป่วยในการที่จะรับการรักษานั้น จะนำไปสู่ผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งครับ

 

 

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด