การรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด

การรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด

 

รศ.นพ.ชัยยศ  ธีรผกาวงศ์

ภาควิชาสูติศาสตร์–นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

          

           ยาเคมีบำบัด เป็นยาที่ลำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว ๆ โดยเฉพาะเซลล์มะเร็ง แต่สำหรับเซลล์ของเราที่ปกติมักไม่หรือไม่ค่อยมีการแบ่งตัวจึงไม่ถูกทำลายหรือถูกทำลายน้อยโดยยาเคมีบำบัด เซลล์ปกติของเราที่มีการแบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์ในไขกระดูก เซลล์เยื่อลำไส้ เป็นต้น อาจจะมีผลกระทบบ้างจากยาเคมีบำบัด ยาเคมีบำบัดที่นิยมใช้กันมักจะบริหารเข้าทางหลอดเลือดดำพร้อมกับน้ำเกลือ ปกติเมื่อให้ยาเคมีบำบัดแต่ละชุดจะมีระยะเวลาพักเพื่อให้เซลล์ร่างกายเราพักฟื้นตัวและเพื่อพร้อมจะรับยาเคมีบำบัดชุดต่อไป ระยะเว้นของแต่ละตำหรับยาอาจไม่เหมือนกันโดยทั่วไป มักเว้นประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ แพทย์มักจะเป็นผู้กำหนด ผู้ป่วยควรจะได้รับยาตามแพทย์นัดเพื่อให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด

            ระหว่างการรับยาเคมีบำบัดควรจะพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ ควรดื่มน้ำให้มาก ๆ หลีกเลี่ยงในการเข้าใกล้ผู้ป่วยไข้หรือการเข้าไปในที่ชุมชน ควรมีการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป เช่น การเดิน หรือตามคำแนะนำของแพทย์

 

            ภาวะแทรกซ้อนของยาเคมีบำบัดขึ้นกับชนิดของยาหรือตำหรับของยา โดยทั่วไปภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่

1. อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยแพทย์มักจะสั่งยาแก้คลื่นไส้อาเจียนให้ ปัจจุบันนี้การพัฒนายาก้าวหน้าไปมากจึงมียาที่มีประสิทธิภาพสูงดีขึ้นมาก ซึ่งสามารถใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

 2. การกดไขกระดูก ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงจึงเกิดภาวะโลหิตจางได้ ถ้ากดเม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคเมื่อเม็ดเลือดขาวต่ำลงจึงอาจจะติดเชื้อโรคได้ง่าย ถ้ากดเกร็ดเลือดซึ่งมีหน้าที่ในการห้ามเลือดออกจึงพึงระวังการกระทบกระแทกอย่างแรงหรือการเล่นกีฬาหนัก ๆ บางชนิด

3. อาการผมร่วง อาจจะเกิดขึ้นได้จากยาบางชนิด

4. ยาบางชนิดอาจมีพิษต่อ ตับ ไต หรืออวัยวะอื่น ๆ

 

            แพทย์จะตรวจตราระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของการรับยาเคมีบำบัดระหว่างและก่อนการรับยาเคมีบำบัดแต่ละชุด จึงจำเป็นต้องร่วมมือในการตรวจแต่ละครั้งตามแพทย์แนะนำและที่สำคัญภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ สามารถป้องกันหรือรักษาได้

 

เอกสารประกอบ

ดาวน์โหลด