แผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

พ.ศ. 2563 - 2567

วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

     คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นผู้นำและผู้ชี้นำทางการแพทย์ที่ได้รับความเชื่อถือระดับสากลและสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ระดับประเทศและระดับโลก

เป้าหมายองค์กร

     องค์กรที่เป็นเลิศ มุ่งสู่อนาคตด้วยผลงานที่เป็นเลิศ

เป้าหมายผลผลิต

     1. บัณฑิตทุกระดับมีคุณภาพ มีศักยภาพเป็นผู้นำ และมีความสามารถหลากหลาย เพื่อสร้างผลงานที่ดี
     2. ผลงานวิจัยที่โดดเด่น ให้ประโยชน์เพื่อการศึกษาและการบริการการแพทย์ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
     3. มีนวัตกรรมจากการบูรณาการการวิจัย การศึกษา และการบริการ
     4. มีผลงานที่เป็นต้นแบบ ด้านการศึกษา และ/หรือการบริการการแพทย์
     5. ความรู้ แนวคิด และผลงานของศิริราช มีส่วนในการพัฒนานโยบายหรือกฎเกณฑ์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ
     6. ผลงานของศิริราชโดยรวมมุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับสากลอย่างยั่งยืนและพัฒนาการทำงานไปพร้อมกับพันธมิตร
     การจัดทำแผนยุทธศาสตร์คณะฯ ฉบับปี พ.ศ. 2563-2567 นี้ ผ่านความร่วมมือของหัวหน้าภาควิชา/ หน่วยงาน ผู้บริหารคณะฯ และบุคลากรจากหน่วยงานระดับปฏิบัติการ เพื่อร่วมกำหนดแผนยุทธศาสตร์คณะฯ ผ่านการจัดประชุมกลุ่มย่อยและ Workshop ที่สำคัญ เพื่อกำหนดเข็มทิศในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ คณะฯ กำหนดการขับเคลื่อนแผนเป็น 3 ระยะ ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ระยะสั้น คือ Smart แผนระยะกลางคือ Innovation และแผนระยะยาวคือ World Changer ด้วยแผนยุทธศาสตร์หลัก 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์หลัก 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้


  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

    เพื่อปรับและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ผ่านการปฏิรูป 10 ด้านที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายระยะสั้น กลาง และยาว

    กลยุทธ์

    1. การปฏิรูปการศึกษา (Medical Education Excellence Reform)เพื่อสร้างระบบการศึกษาสำหรับอนาคตที่ผลิตบัณฑิตทุกระดับให้เกิดความสามารถหลากหลายตามแนวคิด Pi-shaped และมีศักยภาพในการเป็นผู้นำเพื่อสร้างผลงานที่ดี สนองตอบต่อความต้องการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ

    2. การปฏิรูปการวิจัย (Research and Innovation Excellence Reform) เพื่อสร้างผลงานวิจัยมุ่งเป้าที่โดดเด่นเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการบริการทางการแพทย์ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยสนับสนุนการวิจัยในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม การบริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย และการสร้างกลไกเพื่อผลักดันโครงการวิจัยระดับ Flagship ที่ภาควิชา/ หน่วยงานออกแบบร่วมกัน และการสนับสนุนโครงการวิจัยที่เป็นการบูรณาการหรือร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศที่พัฒนานโยบายด้านการแพทย์ สาธารณสุข

    3. การปฏิรูปบริการด้านการแพทย์ (Medical Service Excellence Reform) เพื่อให้เกิด Value Based Healthcare ภายใน 5 ปี ด้วยแผนพัฒนาระยะสั้น คือ Smart People, Smart Operation, Smart Information และ Smart Access และเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาระยะกลางตามแนวคิด Value Based Healthcare ที่คำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ต่อผู้ป่วยเป็นหลัก สำหรับแผนพัฒนาระยะยาว คือ การพัฒนาการบริการทางการแพทย์เฉพาะบุคคล เพื่อนำไปสู่การเป็น International Referral Center of Asia ภายใน 10 ปี

    4. การปฏิรูประบบการบริหารเพื่อความเป็นเลิศที่ยั่งยืน (Management System Reform) เพื่อให้เกิดโครงสร้างการบริหารงานที่ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเพื่อนำมาสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งผลให้เกิดการจัดการที่ยั่งยืนต่อไป

    5. เพื่อรองรับและสนับสนุนการขับเคลื่อนการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการขับเคลื่อนเป้าหมายอนาคต

    6. การปฏิรูปการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Management Reform) เพื่อรองรับ และสนับสนุนการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ โดยนำเทคโนโลยี Multi-Platform ที่กำหนดเป็น DSL (Data Service Layer) เชื่อมโยงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งยังนำแนวคิด Agile มาใช้ เพื่อให้กระบวนการกระชับและคล่องตัว

    7. การปฏิรูปการบริหารข้อมูล ฐานข้อมูล ระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร (Database and MIS Management Reform) เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลที่สนับสนุน กำกับ และติดตามผลการดำเนินงานที่นำข้อมูลจริงมาใช้ในการตัดสินใจทุกระดับ ซึ่งรับผิดขอบโดยศูนย์สารสนเทศและนวัตกรรมข้อมูลศิริราช หรือ SiData+

    8. การปฏิรูปการบริหารเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology Management Reform) เพื่อออกแบบกระบวนการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ให้เกิดความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

    9. การปฏิรูปการบริหารงานทรัพยากรบุคคล (HR Management Reform) เพื่อสร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของคณะฯ ทั้งด้านการสรรหาบุคลากร การเตรียมความรู้ และทักษะของบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพและรองรับการทำงานในอนาคต ตามแนวคิด Smart HR และ Digital Workplace

    10. การปฏิรูปการบริหารการสื่อสารภายใน และภายนอกองค์กร (Corporate Communication Reform (Internal and External)) เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลงาน ความก้าวหน้า ด้านการศึกษา วิจัย วิชาการ การบริการสุขภาพ และเกียรติคุณของคณะฯ สู่สังคม ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งเป็นแหล่งอ้างอิงด้านสุขภาวะและชี้นำสังคมไทยด้านสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิต และวางแผนไปสู่การเป็น Thailand Health Information Center ในอนาคต


  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

    เพื่อสร้างการบูรณาการภายใต้แนวคิด One to Many, Many to One ของหน่วยงานต่าง ๆ ในคณะฯ เพื่อลดขั้นตอน ทรัพยากร เวลา ทุน และกำลังพล ผลักดันให้เกิดนวัตกรรมหรือต้นแบบการบูรณาการที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร

    กลยุทธ์

    1. บูรณาการ 3 พันธกิจ เพื่อสร้างต้นแบบการบูรณาการการทำงานของ 3 พันธกิจหลัก ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางการแพทย์ ผ่านโครงการนำร่อง ได้แก่ Siriraj Enhanced Recovery after Surgery (SiERAS-PG) ในกลุ่มผู้สูงอายุ และ Siriraj Center of Excellence (SI-COE)

    2. โครงการต้นแบบด้านกลยุทธ์คณะฯ เพื่อสร้างต้นแบบการบูรณาการการทำงานโครงการกลยุทธ์คณะฯ ผ่านโครงการนำร่องศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ

    3. บูรณาการทุกฝ่ายงาน เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานของบุคลากรในระดับปฏิบัติการ ตามแนวคิด Lean และ Design Thinking


  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

    เพื่อเสริมสร้างและต่อยอดผลงานของคณะฯ สู่ความเป็นเลิศระดับสากล ผ่านความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากพันธมิตรของคณะฯ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

    กลยุทธ์

    1. ร่วมกำหนดนโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับชาติ ผ่านบุคลากรที่เป็นกรรมการหรือคณะทำงานในหน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อนำความรู้สนับสนุนการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านการแพทย์ สาธารณสุข การศึกษาในระดับชาติ

    2. พัฒนาความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติกับภาครัฐ องค์กรอิสระ และเอกชน เพื่อนำความร่วมมือและพันธมิตรจากภาครัฐ องค์กรอิสระ และเอกชน ร่วมสร้างโครงการสำคัญด้านการแพทย์ สาธารณสุข และนโยบายเพื่อสุขภาพ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

    3. พัฒนาความร่วมมือข้ามศาสตร์ โดยร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างหลักสูตรที่ผสมผสานเนื้อหาด้านแพทยศาสตร์กับด้านอื่น ๆ เช่น Engineering, Data Analytic, Computer Science เป็นต้น เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต


  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

    เพื่อสร้างประสิทธิภาพ ความแข็งแกร่งของบุคลากรคณะฯ โดยพัฒนาสมรรถนะ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ คุณลักษณะในการทำงานอย่างมืออาชีพที่สนองตอบการทำงานรูปแบบอนาคต

    กลยุทธ์

    พัฒนา Development HRD Blueprint for Unleashing Employee Expertise and Quality of Work Life ของบุคลากรคณะฯ โดยกำหนดแผนงานพัฒนาสมรรถนะทางอาชีพและทักษะการทำงานเพื่อสนองตอบการทำงานในอนาคตตามที่กลยุทธ์ต่าง ๆ กำหนด


  • วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

    เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ความมั่นคง แข็งแรง และยั่งยืนของปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คณะฯ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคตที่สามารถคาดหมายได้

    กลยุทธ์

    1. วัฒนธรรม ค่านิยม และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างให้ศิริราชเป็นองค์กรแห่งธรรมาภิบาล ภายใต้แผนการกำกับดูแลและคุณธรรม (Government and Integrity Assessment: GIA) ที่สะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมเพื่อความยั่งยืนของงองค์กร

    2. บริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ เพื่อสร้างแนวทางการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการในทุกระดับขององค์กร ผ่านแนวคิด Siriraj Integrated System for Performance Excellence (Si_ISPEX) ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ TQA (Thailand Quality Award)

    3. ความมั่นคงทางการเงิน มุ่งบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง และงบประมาณด้านต่าง ๆ ของคณะฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด และยั่งยืน

    4. เสริมสร้างสุขภาวะ มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน ทั้งมิติตัวบุคคลและมิติสิ่งแวดล้อมใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา บุคลากร ผู้ป่วยและญาติ รวมถึงชุมชนในบริเวณรอบเขตบางกอกน้อย

    5. รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างต้นแบบโรงเรียนแพทย์ที่รับผิดชอบต่อสังคมตามเกณฑ์ ISO 26000 และสร้างต้นแบบความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในคณะฯ ตามแนวคิด Green Environment ผ่านโครงการสำคัญได้แก่ โครงการ Green Hospital โครงการ New Green Building /Construction และ โครงการ Green & Healthy Learning-Work Place เป็นต้น

    6. องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งพัฒนากระบวนการ แนวปฏิบัติเพื่อเพิ่มคุณภาพ/ ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ผ่านกระบวนการ KM (Knowledge Management) ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมสหสาขาวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคอย่างเป็นระบบ

แผนที่กลยุทธ์

โครงการแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับ พ.ศ. 2563 – 2567

     1. โครงการพัฒนา Non-Technical skills
     2. โครงการพัฒนาหลักสูตร Flexi Program/ Modules (พ.ศ. 2563 – 2564)
     3. โครงการ Flagship projects (พ.ศ. 2563 – 2567)
     4. โครงการ การพัฒนาสนับสนุนกลุ่มวิจัยเพื่อยกระดับสู่ศูนย์วิจัยเป็นเลิศ
     5. โครงการ การสนับสนุน Translation Research
     6. โครงการ Value Outcome Service (VOS)
     7. โครงการ Siriraj Enhanced Recovery after Surgery (SI-ERAS-PG)
     8. โครงการ Siriraj Integrated Center of Excellence: (SiCOE)
     9. โครงการ Siriraj Care Map
     10. โครงการยกระดับสู่ Smart HR / Digital HR ที่ได้พัฒนาตามกรอบเวลาที่กำหนด
     11. โครงการ Siriraj Enhanced Recovery after Surgery (SiERAS-PG)
     12. โครงการศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ
     13. โครงการจัดตั้งศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช (Siriraj Genomics)
     14. โครงการดิจิตอลพาโทโลยี (Digital Pathology)
     15. โครงการการทดสอบเทคโนโลยีดิจิตัล และ 5G สำหรับให้บริการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
     เฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตร่วมกับระบบปรึกษาทางไกล
     16. โครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช
     17. โครงการ Smart Hospital 5G
     18. โครงการศิริราชสัปปายสถานเพื่อการบริรักษ์
     19. โครงการ Siriraj Health & Life Style Center
     20. โครงการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคไข้เลือดออกและไวรัสเด็งกี่
     21. โครงการศูนย์ความเป็นเลิศการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
     22. โครงการ Advance Therapy Medicinal Products
     23. โครงการ COE ยุทธศาสตร์ชาติ

ความเชื่อมโยงระหว่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
และแผนยุทธศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปี 2563