โรคติดเชื้อที่มาจากนก


1. โรคไข้หวัดนก
: เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในสกุล อินฟลูเอนซา เอ บางครั้งเรียกว่าเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิด เอ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
เชื้อไวรัสไข้หวัดนก จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
1. HPAI (High pathogenicity avian influenza) : ก่อโรครุนแรงที่มักพบในไก่บ้าน ไก่งวง นกกระทา และไก่ฟ้า
2. LPAI (Low pathogenicity avian influenza) : ก่อโรคไม่รุนแรงที่มักพบในนกป่า ห่าน หงส์ และนกนางนวล



มารู้จักกับ 'โรคไข้หวัดนก'


อาการในสัตว์ปีก อาการในคน วิธีการติดต่อ วิธีการป้องกัน


อาการในสัตว์ปีก เป็นอย่างไร ?


มักพบการตายฉับพลันของสัตว์ปีกจำนวนมาก พบได้บ่อยในไก่ มักจะมีอาการบวมน้ำ
หงอนและเหนียงมีสีคล้ำ หน้าแข้งมีจุดเลือดออก เลือดออกใต้ผิวหนัง และตายกะทันหัน



อาการในคน เป็นอย่างไร ?


ระยะฟักตัว 7 วัน หลังจากได้รับเชื้อHPAI H5N1 สายพันธุ์เอเชีย
หลังจากนั้น จะมีไข้สูง ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง ตาแดง หรืออาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป
หากรุนแรง มีเลือดปนในน้ำมูก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้



วิธีการติดต่อของโรค


1. การสัมผัสกับเชื้อ ในรูปแบบของอุจจาระของสัตว์ปีก เช่นไก่ และนกพิราบ
2. การสัมผัสใกล้ชิดกับนกป่วยหรือซากนกที่ติดเชื้อ
3. การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
4. การติดต่อผ่านทางรกอาจเป็นไปได้


'เราสามารถป้องกันได้อย่างไร ?'



เลื่อนขวาเพื่อดู

เอกสารอ้างอิง


1. หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงและโรคอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(CU-EIDAs). หนังสือโรคสัตว์สู่คนที่ควรรู้. เล่ม1. “โรคไข้หวัดนก”. กรุงเทพฯ: บริษัท เมดอินโฟ จี.ดี. จำกัด; 2555.

2. Partin-Jackwood MJ, Swayne DE. Pathogenesis and pathobiology of avian influenza virus in birds.

Rev Sci Tech. 2009;28(1):113-136.